วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

ฉลากโภชนาการ
ฉลากอาหารและความหมายของฉลาก
            ฉลากต้องมีชื่ออาหาร ปริมาณ (น้ำหนัก) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ผู้บรรจุ และผู้จัดจำหน่าย อาหารนำเข้าต้องมีชื่อ ที่ตั้งของผู้นำเข้า และประเทศผู้ผลิต
            นอกจากนี้ต้องแสดงส่วนผสมที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดนเรียงจากมากไปหาน้อยกรณีที่ต้องเจือจางหรือทำให้ละลายก่อนบริโภคก็ต้องแสดงส่วนผสมเมื่อเจือจางแล้วบนฉลากด้วย
            ถ้าใช้สารปรุงแต่งอาหารหรืออื่น ๆ ต้องระบุว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “ใช้วัตถุปรุงแต่งรส” ฯลฯ ตามที่สำนักงานกรรมการอาหารและยาได้กำหนดไว้และเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
            บนฉลากจะมีข้อแนะนำวิธีปรุงอาหาร การเก็บรักษา และแสดงวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ โดยมีข้อความ “ผลิต” “หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับไว้ด้วยแล้วแต่กรณี
            อาหารที่เสียง่าย เช่น เบเกอรี่ (ขนมปัง 2 วัน เค้ก 7 วัน) เนื้อสัตว์ ไก่ ปลาสด เก็บในช่องแช่แข็งได้ประมาณ 2-4 วัน ผัก ผลไม้สด ต้องเก็บในที่เย็นจัดและเหมาะสม ความร้อนจะทำให้เน่าเสีย และทำให้จุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนเติบโต
            แถบรหัสอิเล็กทรอนิกส์บนสินค้าเป็นสัญลักษณ์สากล ปรากฏทั้งจำนวนตัวเลข แถบรหัสที่กว้างยาวไม่เท่ากันนี้จะช่วยบอกราคาสินค้า และจำนวนสินค้าที่ยังเหลืออยู่ในคลังเก็บสินค้า
            สัญลักษณ์อื่นที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนดให้ปิดบนฉลากคืออาหารอิสลาม “ฮาลาล” และอาหารมังสวิรัติ

            ฉลากต้องแสดงข้อมูลสารอาหารที่คนไทยควรได้รับประจำวัน (Thai RDI) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจัดทำบัญชีสารอาหารที่จำเป็นควรได้รับรวม 17 ชนิด เพื่อให้ผู้บริโภคคำนวณสัดส่วนของสารอาหารได้ (ธนารัชต์   โสตะจินดา และคณะ, 2549)

ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาโภชนาการ
อาหารและโภชนาการเป็นส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่เน้นในเรื่องของการบริโภคอาหาร การเปลี่ยนอาหารเป็นสารอาหารที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ในรูปแบบต่างๆ ตามการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งการรักษาการเสื่อมสภาพในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับโภชนาการไว้หลายความหมายด้วยกันคือ
โภชนาการ (nutrition) หมายถึง ความต้องการสารอาหาร การเปลี่ยนแปลงของอาหาร การย่อย การดูดซึม การนำเอาสารอาหารไปใช้ในร่างกายและการขับถ่าย
            โภชนาการ (nutrition) หมายถึง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับระบบการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ ทางเคมีของอาหาร และสารอาหารในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการพัฒนาการของร่างกายอันเกิดจากการใช้สารอาหาร เพื่อไปหล่อเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อ และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย (พรพล, 2556)

รูปแบบของฉลากโภชนาการ
การแสดงฉลากโภชนาการมี  2  รูปแบบ  คือ
1.  ฉลากโภชนาการแบบเต็ม   เป็นฉลากที่แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารที่สำคัญที่ควรทราบ  15  รายการ  สำหรับฉลากที่มีความสูงจำกัด  สามารถแสดงฉลากโภชนาการเต็มรูปในลักษณะแบบแนวนอนหรือแบบขวางตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ได้ 
ที่มา ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ ,2556

2.  ฉลากโภชนาการแบบย่อ   ใช้ในกรณีที่สารอาหารตั้งแต่  8  รายการ  จากจำนวนที่กำหนดไว้  15  รายการนั้นมีปริมาณน้อยมากจนถือว่าเป็นศูนย์  จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องแสดงให้เต็มรูปแบบ (ดรุณี  พ่วงพรพิทักษ์ และคณะ ,2556)
ที่มา : ดรุณี พ่วงพรพิทักษ์ ,2556

การระบุฉลากโภชนาการสำหรับอาหารไทย


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

หนึ่งหน่วยบริโภค (Serving size) หมายถึง ปริมาณที่บริโภคแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับอาหารชนิดเดียวกันที่ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้หมดภายใน 1 ครั้ง
สิ่งที่ควรระมัดระวัง คือ ปริมาณที่บริโภค เพราะถ้าบริโภคมากกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค จะทำให้ได้รับพลังงานและสารอาหารต่างๆมากกว่าที่ระบุไว้ในฉลากโภชนาการ ในขณะที่บริโภคน้อยกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค ก็ทำให้ได้พลังงานและสารอาหารต่างๆลดลงเช่นกัน (อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะ,2556) 
หนึ่งหน่วยบริโภคจะบอกให้เราทราบว่าผู้ผลิตแนะนำให้เรากินอาหารชนิดนั้นต่อครั้งในปริมาณเท่าใดเช่น นม 1 กล่อง บรรจุ 220 มิลลิลิตร หากบนฉลากระบุไว้ว่า “หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง (220 มล.)” หมายความว่า นมกล่องนั้นควรดื่มให้หมดภายในครั้งเดียว แต่หากเป็นนมขวดใหญ่ขนาดบรรจุ 1000 มล. ฉลากโภชนาการอาจระบุไว้ว่า “หนึ่งหน่วยบริโภค : 200 มล.หมายความว่าเราสามารถแบ่งดื่มนมขวดนั้นได้ถึง 5 ครั้ง  (เมธิน ผดุงกิจ และคณะ,2559)
จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ(Serving per containers) หมายถึง กินได้กี่ครั้งในภาชนะบรรจุ 1 หน่วย หรือจำนวนเท่าของปริมาณอาหารในภาชนะบรรจุเมื่อเทียบกับปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคประมาณได้ว่าสามารถแบ่งอาหารในภาชนะนั้นสำหรับกี่คน หรือบริโภคอาหารในภาชนะนั้นได้กี่ครั้ง  (อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะ,2556) 


ที่มา : ปรรัตน์   ศุภมิตรโยธิน, 2556


                                                      ที่มา ปรรัตน์   ศุภมิตรโยธิน, 2556
                                                 
             คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (Amount of nutrient per serving) หมายถึงอาหารนี้หนึ่งหน่วยบริโภคให้พลังงานและสารอาหารอะไรบ้างในปริมาณน้ำหนักจริงเท่าใด และปริมาณนี้คิดเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน (อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะ,2556) 
คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคจะบอกว่าหากเรารับประทานอาหารชนิดนั้นตามหนึ่งหน่วยบริโภคที่ระบุไว้ เราจะได้รับคุณค่าทางสารอาหารชนิดใด ในปริมาณเท่าใดบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไปเชื่อมโยงกับร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน  (เมธิน ผดุงกิจ และคณะ,2559)  โดยจะมีการบอกปริมาณสารอาหารต่างๆ ดังนี้
     ปริมาณพลังงาน เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ซึ่งนอกจากผู้บริโภคทราบพลังงานทั้งหมดจากปริมาณที่ควรบริโภคในแต่ละครั้งแล้ว ยังทราบว่าพลังงานที่ได้มาจากไขมันเท่าใดด้วย
     ปริมาณไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล มีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการควบคุมหรือระมัดระวังระดับไขมันในเลือดไม่ให้สูงเกินกว่าปกติ เพราะการบริโภคไขมันอิ่มตัวสูง กระตุ้นตับให้ผลิตคอเลสเตอรอลที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆมากขึ้น
     ปริมาณคาร์โบไฮเดรต มีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่ลดไขมัน ควรได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้มากขึ้นเพื่อได้รับพลังงาน โดยควรมีปริมาณใยอาหารมากเพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย แต่ปริมาณน้ำตาลน้อยโดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคเบาหวานต้องระมัดระวังให้มาก
     ปริมาณโซเดียม มีประโยชน์สำหรับผู้บริโภคที่มีความดันโลหิตสูงหรือเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูง ปริมาณการบริโภคไม่ควรเกิน 2400 มิลลิกรัมต่อวันหรือหนึ่งช้อนชา
(อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะ,2556) 
            ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน (%Daily values) เป็นข้อมูลที่ผู้บริโภคทราบว่าถ้ากินอาหารนี้แล้วได้สารอาหารเป็นสัดส่วนเท่าใดของที่ร่างกายควรได้รับ โดยคิดเทียบเป็นร้อยละของปริมาณความต้องการสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน สำหรับคนไทยตั้งแต่อายุ 6 ปีขึ้นไป (Thai RDI) โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2000 kcal (ผศ.ดร.อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะ,2556)
            เมื่อระบุไว้แล้วว่าคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคนั้น จะได้รับสารอาหารชนิดใด ในปริมาณเท่าใด ต่อมาผู้ผลิตจะแจกแจงให้ดูอีกทีว่า คุณค่าทางโภชนาการที่อาหารชนิดนี้ให้เราจะคิดเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันได้เท่าใด เช่น หากฉลากระบุเอาไว้ว่าหนึ่งหน่วยบริโภคของอาหารนี้ให้ปริมาณไขมันเป็นร้อยละ 15 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน แสดงว่ารับประทานอาหารชนิดนี้แล้วได้ไขมันเพียงแค่ร้อยละ 15 ส่วนไขมันอีกร้อยละ 85 ที่เหลือนั้นต้องไปรับเอาจากอาหารชนิดอื่นๆแทน
            สารอาหารบางประเภท เช่น น้ำตาล ใยอาหาร โปรตีน วิตามินและเกลือแร่ อาจจะบอกเพียงปริมาณต่อหน่วยบริโภค หรือเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกปริมาณกรัมหรือมิลลิกรัมที่ควรได้รับให้ชัดเจน เพราะว่าสารอาหารเหล่านี้มีความไม่แน่นอนสูง เนื่องจากมีหลายชนิดและมีคุณภาพแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุเป็นร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวันที่ชัดเจนได้ส่วนน้ำตาลถือว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ระบุในส่วนของคาร์โบไฮเดรตอยู่แล้ว  (เมธิน ผดุงกิจ และคณะ,2559)
            ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล  เป็นการให้ข้อมูลเรื่องความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเขียนเหมือนกันทุกผลิตภัณฑ์
ตัวอย่าง ความต้องการพลังงานของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2000 กิโลแคลอรีควรได้รับสารอาหารต่างๆดังนี้
-      ไขมันทั้งหมด น้อยกว่า 65 ก.
-      ไขมันอิ่มตัว น้อยกว่า 20 ก.
-      คอเลสเตอรอล น้อยกว่า 300 มก.
-      คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 300 ก.
-      ใยอาหาร 25 ก.
-      โซเดียม น้อยกว่า 2400 มก.
พลังงาน (กิโลแคลอรี) ต่อกรัม : ไขมัน = 9 ; โปรตีน = 4 ; คาร์โบไฮเดรต = 4
เพื่อสุขภาพและรูปร่างที่ดี ควรพิจารณาความเหมาะสมในการบริโภค โดยตรวจสอบจากข้อมูลโภชนาการที่ระบุไว้บนฉลาก ดังนี้
1)      ตรวจสอบพลังงานที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
2)      ตรวจสอบว่าหนึ่งหน่วยบริโภคให้ปริมาณไขมัน และไขมันอิ่มตัวเท่าใดหากไขมันอิ่มตัวเกิน 20 กรัมต่อวัน ควรหลีกเลี่ยงเพราะมีปริมาณเกินมาตรฐานที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน อาจส่งผลให้คอเลสเตอรอลสูง เป็นตัวการนำพาโรคต่างๆ
3)    ตรวจสอบปริมาณน้ำตาล ไม่ควรเกิน 24 กรัม หากเกินอาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน โรคอ้วนและโรคอื่นๆมากมาย
4)      ตรวจสอบปริมาณโซเดียม ไม่ควรเกิน 2300 มก.เพื่อเลี่ยงโรคไต โรคความดันสูง
(เมธิน ผดุงกิจ และคณะ,2559

ตัวอย่างฉลากในผลิตภัณฑ์อาหาร






การดูฉลากโภชนาการ            

ไขมัน
          ไขมันไม่ใช่มีแต่โทษจนต้องคอยหลีกเลี่ยงอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด แต่ก็มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย คือ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานดังกล่าวแล้ว ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและยังช่วยเป็นตัวละลายและช่วยในการดูดซึมวิตามินชนิดที่ละลายในไขมัน และสารอื่นๆที่จำเป็นต่อร่างกาย เราควรกินไขมันให้หลากหลายต่างชนิด ต่างแหล่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลืองบ้าง น้ำมันปาล์ม หรือน้ำมันอื่นๆบ้างคละ สลับกันไป โดยไม่กินเพียงอย่างเดียวซ้ำๆ แต่อย่าลืมจำกัดปริมาณอย่าให้มากเกินไปด้วย (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
โคเลสเตอรอล
          เป็นไขมันจำเป็นชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการเพื่อไปสร้างส่วนประกอบของเซลล์ประสาทและสมอง สร้างฮอร์โมน เกลือ และกรดน้ำดีซึ่งช่วยในการย่อยอาหารประเภทไขมัน ร่างกายจะสร้างโคเลสเตอรอลขึ้นเองได้ประมาณ ร้อยละ 80 ของความต้องการของร่างกายโดยตับเป็นผู้สร้าง นอกจากนั้น เราก็ได้รับโคเลสเตอรอลจากอาหารในชีงิตประจำวัน เช่น ไข่ ตับ นม เนย อย่างไรก็ตามการได้รับมากเกินไป เกินกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวันแล้วอาจทำให้สะสม และก่อให้เกิดอาการเช่นเส้นเลือดตีบตัน ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
โปรตีน
          ช่วยในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ คุณภาพของโปรตีนแตกต่างกันตามแหล่งของโปรตีนนั้น โปรตีนคุณภาพดี คือมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบ แหล่งที่ดีได้แก่ปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นม ไข่ การสร้างโปรตีนของร่างกายนั้นต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกตัวในปริมาณที่พอเหมาะในเวลาเดียวกันถ้าขาดตัวใด หรือสัดส่วนไม่พอเหมาะเด็กก็จะหยุดโต ผู้ใหญ่ก็จะมีการสลายของเนื้อเยื่อเพื่อนำกรดอะมิโนไปใช้ นอกจากนั้น ร่างกายยังไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนได้ดีนัก ดังนั้น ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จึงควรกินโปรตีนคุณภาพดีทุกวัน โปรตีนเป็นสารให้พลังงานด้วย เมื่อใดที่ได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันไม่เพียงพอร่างกายก็จะเผาผลาญโปรตีนแทน (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
คาร์โบไฮเดรต
          เป็นแหล่งพลังงานหลักหรือเชื้อเพลิงของชีวิต นอกจากนั้นยังมีความสำคัญในการเผาผลาญไขมันด้วย ไขมันจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์หากมีคาร์โบไฮเดรตไม่พอโดยจะทำให้เกิดสารพิษขึ้นในเลือดและปัสสาวะ (Ketone bodies) ส่งผลให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป และอวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติจนถึงขั้นหมดสติ (coma) ได้ เราจึงควรได้รับคาร์โบไฮเดรตทุกวันแม้ว่าจะอยู่ในช่วงจำกัดอาหาร หรือควบคุมน้ำหนักก็ตามเพื่อป้องกันสภาวะดังกล่าว (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
ใยอาหาร
          เป็นคาร์โบไฮเดรตอย่างหนึ่งที่ร่างกายย่อยไม่ได้ เมื่อกินใยอาหารจึงมีผลในการเพิ่มปริมาตรอุจจาระ ขับถ่ายสะดวกทุกวันไม่คั่งค้างจึงกำจัดสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ เราจึงควรกินผัก ผลไม้เป็นประจำทุกวัน (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
โซเดียม
          เป็นสารสำคัญในเซลช่วยควบคุมระดับสมดุลของน้ำโดยทำให้เกิดแรงดันออสโมซิส มีส่วนในการควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าได้รับมากเกินไป ไตก็จะขับออกทางปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม ถ้าได้รับมากนานๆอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้น ผู้เป็นโรคหัวใจ ความดัน และโรคไตบางชนิดจึงควรกินอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมต่ำ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
วิตามินและเกลือแร่
          วิตามินเอ มีมากในอาหารพวกตับ เนย ไข่แดง นม ในพืชไม่พบวิตามินเอ แต่พืชสีเหลือง แสด เขียว เช่น มะเขือเทศ ผลไม้ แครอท ฟักทอง จะพบแคโรทีน ซึ่งเมื่อคนกินเข้าไปจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่ผนังลำไส้เล็ก วิตามินชนิดนี้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย การมองเห็นที่ดี และสุขภาพที่ดีของเส้นผม ผิวหนัง ช่วยให้เหงือกและฟันแข็งแรง (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
          วิตามิน บี 1 หรือ ไธอะมิน (thiamin) มีมากในอาหารพวกข้าวซ้อมมือ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วเมล็ดแห้ง เราจำเป็นที่จะต้องได้รับวิตามินบี 1 ให้เพียงพอกับปริมาณที่ต้องใช้ในการเผาผลาญสารอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบไฮเดรต นอกจากนั้น วิตามินบี 1 ยังเสริมสร้างการทำงานที่ดีของระบบประสาทและกล้ามเนื้อหัวใจ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
          วิตามิน บี 2 พบในอาหารพวกเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลา นม และเนย มีส่วนในการใช้พลังงานของร่างกาย ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และ ไขมัน ทำงานร่วมกับร่างกายในการส่งพลังงานไปตามเซลต่าง ๆ จำเป็นต่อสุขภาพที่ดีของผิวหนัง ผม เล็บ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
          แคลเซียม เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน นอกจากนั้น แคลเซียมในเลือดยังมีบทบาทในการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเนื้อเยื่อประสาท ถ้าแคลเซียมในเลือดลดลงมากๆจะทำให้เกิดอาการชักเกร็ง ถ้ามากไปก็จะทำให้ประสาทเกิดอาการเฉื่อยชา ปริมาณที่พอเหมาะมีความสำคัญยิ่งต่อการเต้นของชีพจรและหัวใจ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)
          เหล็ก ร่างกายต้องการเหล็กในการสร้างเม็ดเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฮีโมโกลบินในเลือดซึ่งจะนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย อย่างไรก็ตาม การได้รับเหล็กมากเกินไปจะทำลาย ตับ ตับอ่อน หัวใจ และทำให้อวัยวะอื่นๆเกิดการแปรปรวนได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)

ตัวอย่าง การกล่าวอ้างทางสุขภาพที่ยอมรับและสามารถมีข้อมูลในฉลากโภชนาการ เช่น

เกณฑ์
แคลเซียมและการลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน
แคลเซียม ( 20%)
ฟอสฟอรัสไม่มากกว่าแคลเซียม
โซเดียวและการลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
โซเดียม
( 140 มิลลิกรัม ต่อส่วนโปรตีนถั่วเหลืองบริโภค)
โปรตีนถั่วเหลืองและการลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
ไขมันอิ่มตัวต่ำ
( 1 กรัม ต่อส่วนบริโภค)
ผักและผลไม้ และการลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง
ไขมันต่ำ 20 มิลลิกรัมต่อส่วนบริโภค
ไขมัน 3 ส่วนบริโภค เป็นแหล่งที่ดีของวิตามิน A และ C
ใยอาหาร > 10% ของความต้องการแต่ละวัน
ที่มา : ไมตรี สุทธจิตต์ และคณะ ,2551

วิธีอ่านฉลากโภชนาการสำหรับอาหารต่างประเทศ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
          1. หนึ่งหน่วยบริโภค ส่วนนี้บอกข้อมูลเหมือนฉลากโภชนาการอาหารของบ้านเรา ที่ระบุปริมาณที่ควรกินต่อครั้ง แต่อาหารบางชนิดอาจระบุมาด้วยว่า ควรแบ่งกินกี่คน หรือกี่ครั้งใน 1 แพคนั้น
            2. ปริมาณแคลอรี่ ฉลากส่วนที่ 2 เป็นข้อมูลที่ระบุชัดเจนถึงจำนวนแคลอรี่ที่เราจะได้รับต่อการกินอาหารชนิดนี้ในหนึ่งหน่วยบริโภค พ่วงด้วยปริมาณไขมันอิ่มตัวที่จะได้รับต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
            3. ร้อยละของสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน ในส่วนนี้ของฉลากก็คล้ายคลึงกับฉลากของบ้านเรา ที่จะนำคุณค่าทางโภชนาการของอาหารชนิดนี้มาคิดเป็นร้อยละของสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน เพียงแต่อาจจะมีชนิดของไขมันทรานส์ระบุเพิ่มเข้ามาอีกหนึ่งอย่าง เนื่องจากเป็นกฎหมายของทางกรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารต้องชี้แจงปริมาณไขมันทรานส์ของอาหารให้ประชาชนได้รู้อย่างชัดเจน เพราะความกังวลในเรื่องของสุขภาพของชาวอเมริกันที่มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง
            4. ปริมาณสารอาหารสำคัญที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน เช่น เกลือแร่ ใยอาหาร วิตามินต่าง ๆ เหล็ก และแคลเซียมคิดเป็นร้อยละเท่าไร โดยหากอาหารที่เรากินให้ปริมาณสารอาหารสำคัญได้เพียงเล็กน้อย เราก็ต้องรับประทานอาหารชนิดอื่น ๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจากอาหารชนิดอื่น ๆ เพิ่มเติมอีก
            5. ร้อยละปริมาณสารอาหารที่ควรบริโภคต่อวัน เปรียบเทียบกับความต้องการมาตรฐานโดยคิดจากความต้องการพลังงาน 2,000-2,500 กิโลแคลอรี่ แบ่งตามเพศหญิง และเพศชาย ซึ่งจะระบุข้อมูลเอาไว้ว่า อาหารชนิดนี้จะให้สารอาหารคิดเป็นพลังงานได้กี่กิโลแคลอรี่ แต่ทั้งนี้อาจจะต้องดูตามความเหมาะสมของสภาวะโภชนาการของตัวเราเองด้วยนะคะ เพราะอาจจะต้องเพิ่ม หรือลดหลั่นกันไปในแต่ละบุคคล
             6. สรุปร้อยละคุณค่าทางโภชนาการที่ควรได้รับต่อวัน ว่าอาหารชนิดนี้สามารถให้คุณค่าทางโภชนาการกับคุณได้มากน้อยขนาดไหน ซึ่งหากต่ำกว่า 5% ก็ถือว่าเป็นอัตราคุณค่าทางโภชนาการที่ค่อนข้างต่ำ แต่หากให้คุณค่าทางโภชนาการเกิน 20% ขึ้นไป ก็จัดว่าให้คุณค่าทางโภชนาการในระดับที่สูง (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ,2556)

อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ (กระทรวงสาธารณสุข,2559)
            โดยที่เป็นการสมควรให้มีการแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts; GDA) บนฉลากอาหารบางชนิด เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและสนับสนุนมาตรการป้องกันปัญหาด้านโภชนาการ
ข้อ 1 ให้อาหาร ดังต่อไปนี้ เป็นอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล
ไขมัน และโซเดียม ตามแบบ จีดีเอ (Guideline Daily Amounts; GDA)
            (1) อาหารขบเคี้ยว                  
            (2) ช็อกโกแลต และผลิตภัณฑ์ในทํานองเดียวกันนี้
            (3) ผลิตภัณฑ์ขนมอบ
            (4) อาหารกึ่งสําเร็จรูป ได้แก่
                        (4.1) ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้นไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตามพร้อมซองเครื่องปรุง และ
                        (4.2) ข้าวต้มที่ปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง
            (5) อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียว ซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอด
ระยะเวลาจําหน่าย
ข้อ 2 การแสดงฉลากของอาหารตามข้อ 1 นอกจากต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก และประกาศกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการแสดงฉลากของอาหารนั้น ๆ แล้ว  ยังต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ด้วย
ข้อ 3 การแสดงฉลากของอาหารตามข้อ 2 ต้องปฏิบัติดังนี้
            (1) แสดงฉลากโภชนาการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
                        (1.1) แสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็มตามข้อ 1.1 ของบัญชีหมายเลข 1
ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลากโภชนาการ หรือ
                        (1.2) แสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อ ตามรูปแบบของข้อ 1.2 ของบัญชี
หมายเลข 1ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลากโภชนาการ สําหรับข้อมูลโภชนาการให้แสดงเฉพาะ พลังงานทั้งหมด ไขมันทั้งหมด โปรตีน คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด น้ำตาล โซเดียมและแสดงปริมาณโคเลสเตอรอลเพิ่มเติม หากอาหารดังกล่าวมีปริมาณโคเลสเตอรอลต่อปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคตั้งแต่ 2 มิลลิกรัมขึ้นไป
            กรณีฉลากของอาหารแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อ แสดงข้อความการกล่าวอ้าง
ทางโภชนาการ มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย หรือระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขายต้องแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็มตามข้อ 1.1 ของบัญชีหมายเลข 1 ท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลากโภชนาการ
            (2) แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม (Guideline Daily Amounts: GDA)
ของอาหารตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขตามบัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้
            (3) แสดงข้อความว่า “บริโภคแต่น้อยและออกกําลังกายเพื่อสุขภาพ” ด้วยตัวอักษรหนาทึบ  เห็นได้ชัดเจน สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของกรอบและสีของกรอบตัดกับสีพื้นฉลาก สําหรับอาหาร  ตามข้อ 1 (1) – (3)  ทั้งนี้ อาหารตามข้อ 1 ที่บรรจุในภาชนะบรรจุย่อย ซึ่งมีเนื้อที่ฉลากด้านหน้าน้อยกว่า 65   ตารางเซนติเมตรและจัดรวมในหีบห่อพร้อมจําหน่าย ให้แสดงฉลากตามข้อ 3 ไว้ที่หีบห่อพร้อมจําหน่ายแทนก็ได้ ส่วนการแสดงฉลากตามข้อ 3 ต้องคํานวณการแสดงฉลากโภชนาการและค่าพลังงาน น้ำตาลไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอของภาชนะบรรจุย่อย
ข้อ 4 ให้ผู้ผลิตหรือนําเข้าอาหารตามข้อ 1 อยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับใช้ฉลากเดิมที่เหลืออยู่ต่อไปได้ แต่ไม่เกินหนึ่งปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ 5 ประกาศฉบับนี้ไม่ใช้บังคับกับอาหารตามข้อ 1 ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จําหน่ายโดยตรงให้กับผู้บริโภค
ข้อ 6 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

แนวทางในการเรียนรู้ฉลากโภชนาการแบบ GDA
ที่มาของแนวทางในการเรียนรู้ฉลากโภชนาการแบบ GDA(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
            แนวทางในการเรียนรู้ฉลากโภชนาการแบบ GDA ฉบับนี้ได้มาจากการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง สัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amounts) ของเจ้าหน้าที่สำนักอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555  โดยในการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มีวิทยากรที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ในเรื่องของการจัดทำฉลากโภชนาการแบบ GDA หลายท่านมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และตอบข้อซักถามในประเด็นและปัญหาต่างๆ ที่มีความสงสัยหรือไม่เข้าใจ ทำให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมกิจกรรมหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้ศึกษาแนวทางในการเรียนรู้ฉลากโภชนาการแบบ GDA ได้รับความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
วัตถุประสงค์
            - เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำฉลากโภชนาการและฉลากโภชนาการแบบ GDA อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
            - เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจเฝ้าระวังการแสดงฉลากโภชนาการและฉลากโภชนาการแบบ GDA ได้
ประโยชน์ที่ได้รับ
            - เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้การจัดทำฉลากโภชนาการและฉลากโภชนาการแบบ GDA ตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
            - เจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการแสดงสัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA
            - เจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ไปใช้เป็นแนวทางในการตอบข้อซักถาม ปัญหา หรือข้อสงสัยต่างๆ ในเบื่องต้น ของบุคคลทั่วไป รวมทั้งผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตอาหารที่มีการทำฉลากแบบ GDA ได้อย่างถูกต้อง
ความเป็นมาของการจัดทำฉลากโภชนาการแบบ GDA(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
            กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารสำเร็จรูป ที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 เพื่อพัฒนาหรือต่อยอดการแสดงฉลากโภชนาการ โดยให้แสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ตามแบบจีดีเอ (GDA : Guideline Daily Amounts) หรือที่เรียกว่า ฉลาก หวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการแสดงต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ไว้ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2554
สาระสำคัญของสัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA
1. ที่มา/วัตถุประสงค์ในการจัดทำประกาศฯ
            - เพื่อให้ข้อมูลโภชนาการที่เข้าใจง่ายแก่ผู้บริโภค เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสม และช่วยลดปัญหาความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน โดยเฉพาะในเด็ก (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
2. GDA คืออะไร
             - GDA ย่อมาจาก Guideline Daily Amounts หมายถึง การแสดงค่าพลังงาน (กิโลแคลอรี) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) ในหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (ชิ้น ห่อ ซอง) ของผลิตภัณฑ์อาหาร           ในรูปแบบของสัญลักษณ์ที่แสดงบนฉลากนอกกรอบข้อมูลโภชนาการ ที่เรียกว่า “สัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA” ซึ่งเป็นการแจ้งปริมาณพลังงานและสารอาหารที่มีอยู่จริงในผลิตภัณฑ์อาหารต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ โดยแสดงด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ (Front-of-pack) และแสดงควบคู่กับฉลากโภชนาการที่เป็นการแสดงค่าพลังงาน และสารอาหารต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
3. ข้อมูลที่ต้องแสดงในสัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA ประกอบด้วยอะไรบ้าง
                  -  ข้อมูลพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม โดยแสดงเป็นปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน หรือตามประกาศฯ           กำหนดให้แสดงข้อความ “*คิดเป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน” ไว้บริเวณส่วนล่าง  ของสัญลักษณ์ GDA เพื่อให้ทราบ ร้อยละของคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
4. รูปแบบของฉลากโภชนาการแบบ GDA
- เป็นรูปทรงกระบอกหัวท้ายมน แนวตั้ง เรียงติดกันจำนวน 4 แท่ง เพื่อแสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ตามลำดับ โดยให้แสดงไว้ที่ส่วนหน้าของฉลากที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ส่วนเหนือของรูปทรงกระบอกแสดงข้อความ “คุณค่าทางโภชนาการ   ต่อ ... (หน่วยบรรจุภัณฑ์)” และ “ควรแบ่งกิน .... ครั้ง” คือจำนวนครั้งที่แนะนำให้กินต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์  สีของขอบทรงกระบอกให้แสดงสีใดสีหนึ่ง ได้แก่สีดำหรือ  สีน้ำเงินเข้ม หรือสีขาว และต้องตัดกับสีพื้นของฉลาก สีพื้นภายในรูปทรงกระบอกต้องเป็นสีขาวเท่านั้น และเส้นขีดภายในรูปทรงกระบอกทุกเส้นให้เป็นเส้นสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม และต้องเป็นสีเดียวกับสีตัวอักษร ที่แสดงภายในรูปทรงกระบอก (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555) 

5. อาหารชนิดใดบ้าง ที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการและสัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA
              - กำหนดให้แสดง GDA บริเวณด้านหน้าของฉลากขนมขบเคี้ยว 5 ชนิด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 305) พ.ศ. 2550 เรื่องการแสดงฉลากโภชนาการ ของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด ได้แก่ อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิดในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่าย ซึ่งประกอบด้วยอาหารทั้งหมด    5 ชนิด คือ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
1. มันฝรั่งทอดกรอบหรืออบกรอบ


2. ข้าวโพดคั่วหรืออบกรอบ


3. ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง (Extruded snack)


4. ขนมปังกรอบ แครกเกอร์หรือบิสกิต


5. เวเฟอร์สอดไส้


6. ที่มาในการกำหนดค่าอ้างอิงของข้อมูลโภชนาการ
            - ค่าพลังงาน ไขมัน และโซเดียม อ้างอิงจากค่า Thai Recommended Daily Allowance (Thai RDI) ซึ่งก็คือ ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ส่วนน้ำตาลอ้างอิงจาก WHO และมติที่ประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
7. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการแสดงฉลากโภชนาการของอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีบางชนิด (ฉบับที่ 2) มีผลบังคับใช้เมื่อใด
            -  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
8. สามารถแสดง GDA แตกต่างจากรูปแบบที่กำหนดได้หรือไม่
           - ไม่ได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
9. อาหารที่ไม่ได้กำหนดให้ต้องแสดง GDA เช่น น้ำอัดลม จะสามารถแสดง GDA ได้หรือไม่
             - ปัจจุบันกฎหมายไม่บังคับให้อาหารดังกล่าวแสดง GDA แต่หากจะแสดงต้องมีการแสดงฉลากโภชนาการ และแสดง GDA ตามรูปแบบที่กำหนด (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
10. สามารถขอผ่อนผันระยะเวลาใช้ฉลากเดิมเพื่อจัดทำฉลากให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดได้หรือไม่
          - ไม่ได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
11. การติดสติกเกอร์แทนการพิมพ์ GDA บนฉลากบรรจุภัณฑ์
            - กฎหมายไม่ได้กำหนดรายละเอียดไว้ แต่กำหนดให้ต้องแสดงให้ถูกต้อง หากจะติดสติกเกอร์ต้องแน่ใจว่า สติกเกอร์นั้นจะไม่หลุดร่อนออกมา และต้องเป็นการชั่วคราวเพื่อดำเนินการจัดทำฉลากให้ถูกต้องเท่านั้น (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
12. ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เข้าข่ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 305 หากมีการแสดงเครื่องหมาย GDA แต่รูปแบบไม่ถูกต้อง เป็นการแสดงฉลากที่ผิดหรือไม่ อย่างไร
           - เนื่องจากไม่ใช่อาหารในกลุ่มของประกาศฯ ฉบับที่ 305  จึงไม่ผิดตามประกาศฯ ที่เกี่ยวกับการแสดงฉลากแบบ GDA
           - การดึงข้อมูลโภชนาการมาแสดงที่ด้านหน้าฉลาก จัดได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างทางโภชนาการ ดังนั้นการแสดงฉลากต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ.2541 เรื่อง ฉลากโภชนาการ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
13. ปริมาณพลังงานและสารอาหารที่เป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน คือเท่าไร
            - ค่าพลังงานเป็นร้อยละของพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี
            - ค่าน้ำตาลคิดเป็นร้อยละของน้ำตาล 65 กรัม
            - ค่าไขมันคิดเป็นร้อยละของไขมัน 65 กรัม
            - ค่าโซเดียมคิดเป็นร้อยละของโซเดียม 2,400 มิลลิกรัม 

พลังงาน (กิโลแคลอรี่)
น้ำตาล (กรัม)
ไขมัน (กรัม)
โซเดียม (มิลลิกรัม)
2,000
65
65
2,400
(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
14. ประโยชน์ของการแสดงสัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA คืออะไร
            - ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้ง่าย เพราะอยู่ด้านหน้าของผลิตภัณฑ์
            - ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้ทันที
            - เป็นการแสดงข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อย่างตรงไปตรงมา ไม่ทำให้ผู้บริโภคสับสน
            - เป็นการส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรับผิดชอบตัวเองในการบริโภคอาหารสมดุล
            - ใช้เป็นสื่อการสอน และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการ ปลูกฝังพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่การลดหวาน มัน เค็ม อันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาภาวะโภชนาการได้ในระดับหนึ่ง(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
15. ถ้าไม่ปฏิบัติตามประกาศฯจะมีโทษหรือไม่
            - หากไม่ปฏิบัติตามประกาศฯ มีโทษตามมาตรา 51 ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 คือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
16. ผู้ประกอบการรายเก่าหรือรายใหม่พิจารณาจากอะไร
            - พิจารณาจากใบอนุญาต สบ.5 รายเก่าคือผู้ที่ได้รับอนุญาตก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2554 ซึ่งได้รับอนุญาตผ่อนผันการแสดงฉลากเป็นระยะเวลา 1 ปี และต้องแสดงฉลากแบบ GDA ให้ถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2555 (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
17. หากพบการแสดงฉลาก GDA ไม่ถูกต้อง จะดำเนินการอย่างไร
            - ถ้าเป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า พบการกระทำความผิดครั้งแรกให้ดำเนินคดี
            - ถ้าเป็นผู้จำหน่าย พบการกระทำความผิดครั้งแรกให้ตักเตือน และหากพบการกระทำความผิดครั้งที่ 2 ให้ดำเนินคดี (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
18. รูปแบบการแสดงฉลาก GDA กำหนดขนาดทรงกระบอกและขนาดตัวอักษรหรือไม่อย่างไร
            - ไม่กำหนดขนาดทรงกระบอกและขนาดตัวอักษร แต่กำหนดรูปแบบของทรงกระบอกและขนาดตัวอักษรต้องเห็นได้ชัดเจน (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
19. ถ้ามีการนำ GDA มาไว้ในการโฆษณา ต้องขออนุญาตโฆษณาหรือไม่
            - ต้องขออนุญาต (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
20. เพราะเหตุใดจึงบังคับใช้ฉลาก GDA กับอาหารทั้ง 5 ชนิด
            - จากผลการสำรวจวิจัยถุงขนมที่เด็กรับประทาน
            - พิจารณาจากยอดการจำหน่าย
            - ความพร้อมของผู้ประกอบการ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
21. สัญลักษณ์ทางโภชนาการแบบ GDA มีรูปแบบอย่างไร
22. อาหารที่เข้าข่ายประกาศฯ ฉบับที่ 305 จะแสดงเฉพาะเครื่องหมาย GDA ได้หรือไม่
            - ไม่ได้ เพราะต้องแสดงฉลากโภชนาการและข้อความ “บริโภคแต่น้อยและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
23. อธิบายรูปแบบและเงื่อนไขการแสดง GDA ตามประกาศฯ ฉบับที่ 305 (ฉบับที่ 2)
            - กำหนดรูปแบบทรงกระบอก
            - พื้นสีภายในต้องเป็นสีขาว
            - เส้นกรอบต้องเป็นสีดำ สีน้ำเงิน สีขาว
            - ต้องแสดงที่ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ บริเวณที่เห็นได้ชัดเจน (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
24. กรณีที่ผู้ประกอบการมีการแสดงสัญลักษณ์ทางโภชนาการ สามารถนำข้อมูลในตารางข้อมูลโภชนาการมาแสดงบนฉลาก GDA ได้หรือไม่
            - ได้ แต่เนื่องจากฉลากโภชนาการมีการแสดงข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยบริโภค แต่การนำมาแสดงบน GDA ต้องคำนวณต่อทั้งบรรจุภัณฑ์ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา,2555)
ตัวอย่างฉลาก GDA ในขนม



การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
อาหาร
            ในหัวข้อนี้จะนำเสนอในส่วนของฉลากอาหารซึ่งเป็นเสมือนแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน การอ่านฉลากอาหารจะทำให้ผู้ได้รักผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อ รวมทั้งสามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารนั้นๆได้ (ดรุณี   พ่วงพรพิทักษ์ และคณะ,2554)

ภาพประกอบ ตัวอย่างฉลากอาหาร

            การแสดงอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคโดยตรงต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ ผู้ผลิตต้องแสดงรายละเอียดบนฉลากดังนี้
            1.ชื่ออาหาร จะแสดงถึงประเภท ชนิด ส่วนประกอบ รูปร่าง และลักษณะผลิตภัณฑ์เบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้ออาหารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น นมหนองโพ น้ำมันถั่วเหลืองกุ๊ก
            2.เครื่องหมาย อย. ซึ่งภายในกรอบจะระบุเลขสารบบอาหาร ซึ่งแสดงว่าอาหารนั้นได้ผ่านการอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแล้ว ซึ่งมีขั้นตอนการตรวจสอบความเหมาะสมในหลายๆส่วนเช่น สถานที่ในการผลิต สถานที่นำเข้า และคุณภาพของอาหารตามที่กำหนด เพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพของอาหารแก่ผู้บริโภค แต่ยังมีข้อยกเว้นอาหารบางชนิดที่ยังไม่ต้องมีเลขสาระบบอาหาร คือ อาหารที่มีความปลอกภัยต่อผู้บริโภคสูงหรือเป็นอาหารที่ยังไม่สามารถรับประทานได้เลยต้องนำไปประกอบอาหารก่อน เช่น ถั่วเขียว วุ่นเส้น พริกป่น เป็นต้น

ภาพประกอบ เลขสาระบบอาหารในเครื่องหมาย อย.
            3.วันเดือนปีผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน เป็นส่วนที่สำคัญที่จะบอกถึงอาหารนั้นมีการผลิตมานานเท่าไหร่ บอกถึงอายุอาหารซึ่งยังคงปลอดภัยต่อผู้บริโภค ข้อแนะนำในการเลือกซื้ออาหารที่ดีคือไม่ควรซื้ออาหารจำนวนมากควรซื้อเฉพาะเท่าที่คาดว่าจะรับประทานหมดก่อนวันหมดอายุ
            4.ส่วนประกอบที่สำคัญ ในส่วนนี้จะบอกให้ผู้บริโภคทราบว่าในอาหารนั้นจะมีส่วนประกอบอะไรบ้าง ในปริมาณเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้ออาหารได้ตรงตามความต้องการและสามารถใช้เปรียบเทียบในการเลือกซื้ออาหารได้ด้วย นอกจากนี้ หากอาหารนั้นมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร โดยเฉพาะการใช้วัตถุกันเสีย สีผสมอาหาร หรือวัตถุปรุงแต่งรส เช่นผงชูรส ก็จะต้องมีการแสดงข้อความบนฉลากด้วย ข้อมูลส่วนนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคเลือกพิจารณาในการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่เราไม่ต้องการหรือส่วนผสมที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ อาทิเช่น บางคนจะมีอาการแพ้พวกอาหารทะเลหรือแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว
            5.ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ จะทำให้ผู้บริโภคทราบว่าใครเป็นผู้ผลิตอาหาร ผลิตในหรือต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์เมื่อผู้บริโภคมีปัญหาที่ต้องการสอบถามถึงรายละเอียดหรือเรียกร้องค่าเสียหาย หรือร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ตามที่อยู่ที่ระบุไว้บนฉลาก
            6.ปริมาณอาหาร จะช่วยให้ทราบถึงปริมาณอาหารส่วนที่ไม่รวมภาชนะ ตามกฏหมายจะให้แสดงเป็นระบบเมตริก โดยแสดงเป็นน้ำหนักสุทธิหรือปริมาตรสุทธิ ช่วยให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบอาหารชนิดเดียวกัน
            7.คำเตือน อาหารบางชนิดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคจึงต้องมีการระบุคำเตือน เช่น อาหารที่ทำมาจากเกสรดอกไม้กับผู้ที่แพ้ หรือบางผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสมกับเด็กและสตรีมีครรภ์ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการบริโภคมากขึ้น
            8.วิธีปรุงหรือวิธีใช้ มีผลต่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเพราะอาหารบางชนิดต้องใช้ความร้อนตามอุณหภูมิและเวลาที่กำหนดก่อนถึงจะสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย หรือการเตรียมนมสำหรับทารกต้องเตรียมให้ได้สัดส่วนหรือปริมาณตามที่กำหนดไว้หากได้มากหรือน้อยเกินไปอาจส่งผลต่อโภชนาการของทารกได้
            9.ฉลากโภชนาการ จะมีข้อมูลโภชนาการอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยม ซึ่งจะบอกให้ผู้บริโภคทราบว่าหากรับประทานอาหารนั้นตามปริมาณที่ระบุจะได้รับสารอาหารหรือพลังงานเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ หรือเพื่อเลือกซื้ออาหารที่ดีกว่าแต่ราคาเท่ากันหรือช่วยในการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะกับภวะสุขภาพของตนเองได้ เช่น หากผู้บริโภคมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนก็ต้องเลือกบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงๆ หรือหากมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตก็สามารถหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมหรือเกลือในปริมาณสูงได้เช่นเดียวกัน สำหรับรายละเอียดของฉลากโภชนาการนิสิตจะได้เรียนในลำดับต่อไป (ดรุณี   พ่วงพรพิทักษ์ และคณะ,2554)
            ข้อมูลซึ่งผู้บริโภคควรต้องทราบระบุบนฉลากผลิคภัณฑ์อาหาร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัย คุ้มค่า และสมประโยชน์ที่สุด ดังนั้น ผู้บริโภคทุกคนจึงควรให้ความใส่ใจต่อการอ่านและใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ระบุบนฉลาก สำหรับผู้บริโภคที่เคยพิจารณา เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารโดยพิจารณาเฉพาะเครื่องหมาย อย. ก็ควรหันมาใส่ใจอ่านข้อมูลอื่นบนฉลากประกอบการตัดสินใจซื้อด้วย เพราะจะทำให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมากขึ้น สำหรับผู้บริโภคที่พบเห็นผลิตภัณฑ์อาหาร แสดงฉลากไม่ถูกต้อง(ดรุณี   พ่วงพรพิทักษ์ และคณะ,2554)
การแสดงเลขสารบบอาหาร
            การแสดงเลขสารบบอาหาร หมายถึง การแสดงเครื่องหมายหรือรูปแบบของอาหาร ที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนตํารับอาหาร อนุญาตใช้ฉลากอาหาร จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียด ของอาหารแล้ว ประกอบด้วยเครื่องหมาย และเลขสารบบอาหาร(คณะกรรมการอาหารและยา,2557)
            เลขสารบบอาหาร ประกอบด้วยตัวเลขสิบสามหลักที่แบ่งเป็นห้ากลุ่ม ซึ่งแสดงถึงสถานที่ผลิตอาหาร หรือสถานที่นําเข้าอาหารแล้วแต่กรณี หน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต และลําดับที่ของอาหาร โดยแสดงใน เครื่องหมายตามลักษณะข้างล่างนี้ (คณะกรรมการอาหารและยา,2557)
            ๏ กลุ่มที่หนึ่ง (XX) ประกอบด้วย ตัวเลขสองหลัก แสดงถึง จังหวัดที่เป็นที่ตั้ง ของสถานที่ผลิตอาหารหรือนําเข้าอาหาร โดยใช้ตัวเลขแทนอักษรย่อของจังหวัด
            ๏ กลุ่มที่สอง (X) ประกอบด้วย ตัวเลขหนึ่งหลัก แสดงถึง สถานะของสถานที่ ผลิตอาหารหรือนําเข้าอาหารและหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาต ดังนี้
                        หมายเลข 1 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้อนุญาต
                        หมายเลข 2 หมายถึง สถานที่ผลิตอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
                        หมายเลข 3 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยาเป็นผู้อนุญาต
                        หมายเลข 4 หมายถึง สถานที่นําเข้าอาหาร ซึ่งจังหวัดเป็นผู้อนุญาต
            ๏ กลุ่มที่สาม (XXXXX) ประกอบด้วย ตัวเลขห้าหลัก แสดงถึง เลขสถานที่ผลิตอาหาร หรือเลขสถานที่นําเข้าอาหารที่ได้รับอนุญาตและปีพุทธศักราชที่อนุญาต โดยตัวเลข สามหลักแรกของ กลุ่มที่สาม คือ เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือเลขสถานที่นําเข้าอาหารแล้วแต่กรณี และตัวเลขสองหลักสุดท้าย ของกลุ่มที่สาม คือ ตัวเลขสองหลักสุดท้ายของปีพุทธศักราชที่ได้รับอนุญาต เช่น 00241 แทน เลขสถานที่ผลิตอาหารหรือสถานที่นําเข้าอาหารซึ่งได้รับอนุญาตลําดับที่สอง ในปีพุทธศักราช 2541
            ๏ กลุ่มที่สี่ (Y) ประกอบด้วย ตัวเลขหนึ่งหลัก แสดงถึง หน่วยงานที่ออกเลข สารบบอาหาร ดังนี้
                        หมายเลข 1 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารบบอาหารจากสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา
                        หมายเลข 2 หมายถึง อาหารที่ได้รับเลขสารบบอาหารจากจังหวัด
            ๏ กลุ่มที่ห้า (YYYY) ประกอบด้วย ตัวเลขสี่หลัก แสดงถึง ลําดับที่ของอาหารที่ผลิต โดยสถานที่ผลิตอาหารหรือนําเข้าโดยสถานที่นําเข้าอาหารแต่ละแห่ง แยกหน่วยงานที่เป็นผู้อนุญาตตามกลุ่มที่ 4 เช่น 0001 แทนลําดับที่ 1, 0099 แทนลําดับที่ 99, 0110 แทนลําดับที่ 110, 1001 แทนลําดับที่ 1001
อาหารที่ต้องแสดงเลขสารบบอาหาร ได้แก่
            1. อาหารควบคุมเฉพาะ
            2. อาหารที่กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
            3. อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นอาหารที่ต้องมีฉลาก
ทั้งนี้ รวมถึงอาหารนอกเหนือจากอาหารตาม 1 ถึง 3 ที่ผ่านการตรวจสอบ มาตรฐานสถานที่ผลิตหรือสถานที่นําเข้า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ ในการผลิตและการเก็บรักษาอาหารที่กําหนดไว้เป็นการเฉพาะสําหรับอาหารนั้น ๆ และประสงค์จะแสดงเลขสารบบอาหาร (คณะกรรมการอาหารและยา,2557)

**  ให้แสดงเลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย  ด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับ สีพื้นของกรอบ และมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก 
       กรณีที่ไม่อาจแสดงเลขสารบบอาหารตามวรรคหนึ่งได้ ให้ชี้แจงและแสดงเหตุผล ประกอบคําชี้แจงต่อสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อพิจารณา ซึ่งสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยาอาจให้ความเห็นชอบในการแสดงเลขสารบบอาหารต่างไปจากข้อกําหนดในวรรคหนึ่งได้ (คณะกรรมการอาหารและยา,2557)


ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ
        1.  เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการหรือภาวะทางโภชนาการของตนได้  เช่น  ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลสูง  ก็เลือกอาหารที่ระบุว่ามีคอเลสเตอรอลต่ำหรือผู้ที่เป็นโรคไตก็เลือกอาหารมีโซเดียมต่ำ
        2.  เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน  โดยเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีกว่าได้
        3.  ในอนาคต  เมื่อผู้บริโภคสนใจข้อมูลโภชนาการของอาหาร  ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า  แทนการแข่งขันกันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่นๆ
ฉลากโภชนาการมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทำให้สามารถเลือกบริโภคอาหารสำเร็จรูป/กึ่งสำเร็จรูปที่มีปริมาณคุณค่าสารอาหารตรงตามความต้องการของร่างกายได้อย่างเหมาะสม  ดังนั้น  ผู้บริโภคจึงไม่ควรละเลยหรือมองข้ามฉลากโภชนาการ  การอ่านข้อมูลโภชนาการบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหารก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ  จะทำให้ซื้อผลิตภัณฑ์อาหารตามที่ต้องการได้(ปรรัตน์   ศุภมิตรโยธิน, 2556)

การคำนวณคุณค่าทางโภชนาการ
            การคำนวณคุณค่าทางโภชนาการของอาหารที่บริโภค  จำเป็นต้องทราบพลังงานที่ได้รับจากอาหารในแต่ละประเภทและคุณค่าอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน  ดังนี้
      1.  คุณค่าอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน  คนทั่วไปที่ทำงานหนักปานกลางต้องการพลังงานวันละประมาณ  2,000  กิโลแคลอรี  ผู้ที่ทำงานหนัก  เช่น  กรรมกร  นักกีฬา  ก็จะต้องการพลังงานมากกว่านี้  หรือผู้ที่ทำงานเบากว่าจะต้องการพลังงานน้อยกว่านี้  สารอาหารที่ให้พลังงาน  คือ  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  และไขมัน  ปริมาณสารอาหารทั้งสามที่แนะนำให้บริโภคในฉลากโภชนาการนั้น  เทียบสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละประมาณ  2,000  กิโลแคลอรี  หากต้องการพลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่านี้  ก็ปรับกินเพิ่ม  หรือลดลงตามส่วน  อย่างไรก็ตาม  ไม่ควรกินให้ได้พลังงานจากอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป  เช่น  กินแต่แป้งจำนวนมากทั้ง  2,000  กิโลแคลอรี  แต่ควรกินให้เป็นสัดส่วนดังนี้  คือ
            1.)  สัดส่วนการบริโภคอาหารต่อวันควรเป็น
                  - พลังงานที่ได้จาก  คาร์โบไฮเดรต  ร้อยละ  60
                  - พลังงานที่ได้จาก  โปรตีน  ร้อยละ  10
                  - พลังงานที่ได้จาก  ไขมัน  ร้อยละ  30  โดยเป็นไขมันอิ่มตัวไม่เกินร้อยละ 10
            2.)  การคำนวณพลังงานจากอาหาร
                  การคำนวณพลังงานนั้น  คิดเทียบจากคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนจะให้พลังงาน  4  กิโลแคลอรีต่อกรัม  ในขณะที่ไขมันจะให้พลังงานมากกว่าถึงสองเท่าคือ  9  กิโลแคลอรีต่อกรัม
            3.)  ตัวอย่างการคำนวณ
                  สมมติ  ให้เราทำงานหนักปานกลาง  ต้องการพลังงานวันละ  2,000  กิโลแคลอรี  จะสามารถคำนวณหาปริมาณคาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  และไขมัน ที่ควรรับประทานในแต่ละวันได้ ดังนี้
                     (1)   พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต  ร้อยละ 60  จากทั้งหมด  2,000  กิโลแคลอรี
                           คิดเป็น  (60/100)  ×  2,000                             =  1,200  กิโลแคลอรี
                           ซึ่งจะต้องได้จากคาร์โบไฮเดรต  1,200/4        =     300  กรัม
                     (2)   พลังงานจากโปรตีน  ร้อยละ 10  จากทั้งหมด 2,000  กิโลแคลอรี        
                           คิดเป็น  (10/100)  ×  2,000                              =   200  กิโลแคลอรี
                           ซึ่งจะต้องได้จากคาร์โบไฮเดรต  200/4            =     50  กรัม
                     (3)   พลังงานจากไขมัน  ร้อยละ 30  จากทั้งหมด    2,000  กิโลแคลอรี        
                           คิดเป็น  (30/100)  ×  2,000                              =   600  กิโลแคลอรี
                           ซึ่งจะต้องได้จากคาร์โบไฮเดรต  600/9            =   ประมาณ  65  กรัม
                     (4)   พลังงานจากไขมันไม่อิ่มตัว  ร้อยละ 10  จากทั้งหมด 2,000  กิโลแคลอรี
                           คิดเป็น  (10/100)  ×  2,000                              =    200  กิโลแคลอรี
                           ซึ่งจะต้องได้จากคาร์โบไฮเดรต  200/9            =   ประมาณ  2กรัม
            4.)  สรุป  ถ้าทำงานหนักปานกลาง  ต้องการพลังงานวันละ  2,000  กิโลแคลอรี  จะต้องได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต  300  กรัม  โปรตีน  50  กรัม  และไขมัน  65  กรัม  โดยเป็นไขมันไม่อิ่มตัวไม่เกิน  20  กรัม (ปรรัตน์   ศุภมิตรโยธิน, 2556)

การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ
            “อาหารในภาชนะบรรจุ” หมายถึง อาหารที่มีภาชนะหุ้มห่อเพื่อจําหน่าย
            “หมดอายุ” หมายความว่า วันที่ซึ่งแสดงการสิ้นสุดของคุณภาพของอาหารภายใต้เงื่อนไข
การเก็บรักษาที่ระบุไว้ และหลังจากวันที่ระบุไว้นั้น อาหารนั้นวางจําหน่ายไม่ได้
            “ควรบริโภคก่อน” หมายความว่า วันที่ซึ่งแสดงการสิ้นสุดของช่วงเวลาที่อาหารนั้นยังคง
คุณภาพดี ภายใต้เงื่อนไขการเก็บรักษาที่ระบุไว้ และหลังจากวันที่ระบุไว้นั้น อาหารนั้นวางจําหน่ายไม่ได้
            “แบ่งบรรจุ” หมายความว่า การนําอาหารจากภาชนะบรรจุเดิมมาแบ่งบรรจุในภาชนะบรรจุย่อยซึ่งไม่รวมการทํา ผสม ปรุงแต่งอาหารดังกล่าว
            “สารก่อภูมิแพ้” หมายถึง สารที่เข้าสู่ร่างกายแล้วทําให้ร่างกายมีปฏิกิริยาผิดปรกติ ทั้งที่ตามธรรมดา สารนั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายคนทั่วๆ ไปแล้วจะไม่มีอันตรายใดๆ จะมีอันตรายก็เฉพาะในคนบางคนที่แพ้สารนั้นเท่านั้น และให้หมายความรวมถึงสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกิน (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)
            ให้อาหารในภาชนะบรรจุต้องแสดงฉลาก ยกเว้นอาหาร ดังต่อไปนี้
            (1) อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตแก่ผู้บริโภคได้ในขณะนั้น เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น
            (2) อาหารสดที่ไม่ผ่านกรรมวิธีใด ๆ หรืออาหารสดที่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชําแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นและบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพ ของอาหารสดนั้นได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงอาหารแปรรูปในภาชนะบรรจุพร้อมจําหน่ายตามประกาศกระทรวง สาธารณสุขว่าด้วยเรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูป ในภาชนะพร้อมจําหน่าย
            (3) อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจําหน่ายเพื่อบริการภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานที่อื่นในลักษณะทํานองเดียวกัน และรวมถึง การบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้ซื้อด้วย
            อาหารตาม (1) (2) (3) หากได้มีการขอรับเลขสารบบอาหาร ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ อาหารในภาชนะบรรจุที่ได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดการแสดงฉลากไว้เป็นการเฉพาะ นอกจากต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนั้น ๆ แล้ว ยังต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)

การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจําหน่าย นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือที่จําหน่าย  (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)
            การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตเพื่อจําหน่าย นําเข้าเพื่อจําหน่าย หรือที่จําหน่าย ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยจะต้องมีข้อความแสดงรายละเอียด ดังต่อไปนี้ เว้นแต่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใด
            (1) ชื่ออาหาร
            (2) เลขสารบบอาหาร
            (3) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นําเข้า หรือสํานักงานใหญ่ แล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้
                        3.1) อาหารที่ผลิตในประเทศ ให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ หรือแสดงชื่อ และที่ตั้งของสํานักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุก็ได้ โดยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ กํากับไว้ด้วย
                                    3.1.1) ข้อความว่า “ผู้ผลิต” หรือ “ผลิตโดย” สําหรับกรณีเป็นผู้ผลิต                                     3.1.2) ข้อความว่า “ผู้แบ่งบรรจุ” หรือ “แบ่งบรรจุโดย” สําหรับกรณีเป็นผู้แบ่งบรรจุ
                                    3.1.3) ข้อความว่า “สํานักงานใหญ่” สําหรับกรณีเป็นผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ที่ประสงค์จะแสดงชื่อและที่ตั้งของสํานักงานใหญ่
                        3.2) อาหารนําเข้าจากต่างประเทศ ให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นําเข้าโดยมีข้อความว่า
“ผู้นําเข้า” หรือ “นําเข้าโดย” กํากับ และแสดงชื่อและประเทศของผู้ผลิตด้วย
            (4) ปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก
                        4.1) อาหารที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ให้แสดงน้ำหนักสุทธิ
                        4.2) อาหารที่มีลักษณะเป็นของเหลว ให้แสดงปริมาตรสุทธิ
                        4.3) อาหารที่มีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งเหลว หรือลักษณะอื่น อาจแสดงเป็นน้ำหนักสุทธิหรือปริมาตรสุทธิก็ได้
            กรณีอาหารที่มีการกําหนดน้ำหนักเนื้ออาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ให้แสดงปริมาณน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย
            (5)  ส่วนประกอบที่สําคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก
            ส่วนประกอบที่สําคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณเรียงตามลําดับปริมาณจากมากไปน้อยเว้นแต่
                        5.1) อาหารที่ฉลากมีพื้นที่ทั้งแผ่นน้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร แต่ทั้งนี้ จะต้องมี
ข้อความแสดงส่วนประกอบที่สําคัญไว้บนหีบห่อของอาหารนั้น หรือ
                        5.2) อาหารที่มีส่วนประกอบเพียงอย่างเดียวโดยไม่นับรวมถึงวัตถุเจือปนอาหารหรือวัตถุ
แต่งกลิ่นรสที่เป็นส่วนผสม หรือ
                        5.3) อาหารชนิดแห้ง หรือชนิดผง หรือชนิดเข้มข้น ที่ต้องเจือจางหรือทําละลายก่อนบริโภคอาจเลือกแสดงส่วนประกอบที่สําคัญของอาหารเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ หรือเมื่อเจือจางหรือทําละลายตามวิธีปรุงเพื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้บนฉลาก อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแสดงทั้งสองอย่างก็ได้     
            (6) ข้อความว่า “ข้อมูลสําหรับผู้แพ้อาหาร : มี ……..….” กรณีมีการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหาร หรือ “ข้อมูลสําหรับผู้แพ้อาหาร : อาจมี ………….…” กรณีมีการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตแล้วแต่กรณี (ความที่เว้นไว้ให้ระบุประเภทหรือชนิดของสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกิน)  โดยขนาดตัวอักษรของข้อความในฉลากต้องมีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน และอ่านได้ง่าย ขนาดของตัวอักษรต้องสัมพันธ์กับขนาดของพื้นที่ฉลาก และสีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของฉลาก ขนาดตัวอักษร  ต้องไม่เล็กกว่าขนาดตัวอักษรที่แสดงส่วนประกอบและแสดงไว้ที่ด้านล่างของการแสดงส่วนประกอบ
การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุสรุปได้ดังนี้
ข้อกำหนด
ขนาดพื้นที่ของฉลาก
ขนาดตัวอักษร
หมายเหตุ
· ชื่ออาหาร
ตั้งแต่ 35 ตารางเซนติเมตร
ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
แสดงที่ส่วนสำคัญของฉลากเมื่อ วางจำหน่าย และมีข้อความ ต่อเนื่องกันในแนวนอน
น้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร
ไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร
· เลขสารบบอาหาร
ทุกขนาด
ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
-
· ชื่อและที่ ตั้งของ ผู้ผลิตหรือผู้ แบ่ง บรรจุหรือผู้นำเข้าหรือสำนักงานใหญ่
· ปริมาณของอาหาร เป็นระบบเมตริก
· ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณเรียงตามลำดับปริมาณ จากมากไปน้อย
· ข้อมูลสำหรับผู้แพ้ อาหาร
· การแสดงข้อความควรบริโภคก่อน” และ วัน เดือนและ ปี ที่ควรบริโภคก่อนรวมถึงผลิต ” หรือหมดอายุ” (ถ้ามี)
ไม่เกิน 100 ตารางเซนติเมตร
ไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร
1) ฉลากอาหารที่มีพื้นที่ทั้งแผ่น น้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร การแสดงส่วนประกอบอาจแสดง ไว้บนหีบห่อของอาหารแทนได้ 2) ให้แสดงข้อมูลสำหรับ ผู้แพ้ อาหาร และข้อความ “ควรบริโภค ก่อน” และ วัน เดือนและปี ที่ ควรบริโภคก่อน รวมถึง “ผลิต” หรือหมดอายุ” (ถ้ามี) ไว้ในตำแหน่งที่ สามารถเห็นได้ชัดเจน 3) กรณีแสดง วัน เดือน และปี หรือ เดือน ปี ไว้ที่ด้านล่างหรือ ส่วนอื่น ต้องมีข้อความที่ฉลากสื่อ ได้ชัดเจนว่าจะดูข้อมูลดังกล่าวได้ ที่ใด และอาจแสดงข้อความกำกับ วัน เดือนและปี หรือเดือน และปีที่ ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน ไว้ด้วยอีกหรือไม่ก็ได้
มากกว่า 100 ตาราง เซนติเมตร และไม่เกิน 250 ตารางเซนติเมตร
ไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร
มากกว่า 250 ตารางเซนติเมตร
ไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร


(กระทรวงสาธารณสุข , 2557)
            ประเภทหรือชนิดของอาหารตามวรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ หรือสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกิน  ได้แก่
                        6.1) ธัญพืชที่มีส่วนประกอบของกลูเตน ได้แก่ ข้าวสาลี ไรน์ บาร์เลย์ โอ๊ต สเปลท์หรือสายพันธุ์ลูกผสมของธัญพืชดังกล่าว และผลิตภัณฑ์จากธัญพืชที่มีส่วนประกอบของกลูเตนดังกล่าว
                        6.2) สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง เช่น ปู กุ้ง กั้ง ลอบเสตอร์ เป็นต้น และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง
                        6.3) ไข่ และผลิตภัณฑ์จากไข่
                        6.4) ปลา และผลิตภัณฑ์จากปลา
                        6.5) ถั่วลิสง ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ถั่วเหลือง
                        6.6) นม และผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงแลคโตส
                        6.7) ถั่วที่มีเปลือกแข็ง และผลิตภัณฑ์จากถั่วที่มีเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนต์ วอลนัท  พีแคน เป็นต้น
                        6.8) ซัลไฟต์ ที่มีปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
            ทั้งนี้ ไม่รวมถึงอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกินเป็นส่วนประกอบที่สําคัญ และมีการแสดงชื่ออาหารที่ระบุชื่อสารก่อภูมิแพ้หรือสารที่ก่อภาวะภูมิไวเกินไว้ชัดเจนแล้ว  เช่น น้ำนมโคสด ถั่วลิสงอบกรอบ เป็นต้น
            (7)  แสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับตัวเลขตาม International Numbering System : INS for Food Additivesถ้ามีการใช้หรือมีวัตถุเจือปนอาหารติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร เป็นส่วนประกอบของอาหารในปริมาณที่เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร และให้แสดงข้อความดังต่อไปนี้ด้วยแล้วแต่กรณี
                        7.1) “สีธรรมชาติ” หรือ “สีสังเคราะห์” ตามด้วยชื่อเฉพาะ หรือตัวเลขตาม International Numbering System: INS for Food Additives แล้วแต่กรณี
                        7.2) ชื่อกลุ่มหน้าที่ตามด้วยชื่อเฉพาะ สําหรับกรณีวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร และวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล
            (8) ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์”
“แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี
            (9) แสดงวัน เดือนและปี สําหรับอาหารที่มีอายุการเก็บไม่เกิน 90 วัน หรือแสดง
วัน เดือนและปี หรือเดือนและปี สําหรับอาหารที่มีอายุการเก็บเกิน 90 วัน โดยมีข้อความว่า
“ควรบริโภคก่อน” กํากับไว้ด้วย
            นอกจากการแสดงข้อความตามวรรคหนึ่ง อาจกําหนดให้แสดงข้อความ “ผลิต” หรือ “หมดอายุ”ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารนั้นการแสดงวัน เดือนและปี หรือเดือนและปี ให้แสดงเป็นวัน เดือนและปี หรือเดือนและปีเรียงตามลําดับ ทั้งนี้ อาจแสดง “เดือน” เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้กรณีที่มีการแสดงไม่เป็นไปตามวรรคสาม ต้องมีข้อความหรือตัวอักษรที่สื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจอย่างชัดเจนถึงวิธีการแสดงข้อความดังกล่าวกํากับไว้ด้วย
            (10) คําเตือน (ถ้ามี)
            (11) ข้อแนะนําในการเก็บรักษา (ถ้ามี)
            (12) วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี)
            (13) วิธีการใช้และข้อความที่จําเป็นสําหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อนหรือบุคคลกลุ่มใดโดยเฉพาะ
            (14) ข้อความที่กําหนดเพิ่มเติมตามบัญชีแนบท้ายประกาศ
            (15) ข้อความที่ต้องมีสําหรับอาหารที่มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกําหนดกรณีการแสดงฉลากอาหารที่มิใช่จําหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้ปรุงหรือ
ผู้จําหน่ายอาหาร อย่างน้อยต้องแสดงรายละเอียดตามข้อ 4 (1) (2) (3) (4) (5) และ (9) และ
อาจแสดงข้อความเป็นภาษาอังกฤษแทนก็ได้ไว้บนฉลาก ทั้งนี้ ต้องมีการแสดงรายละเอียดเป็นภาษาไทยที่ครบถ้วนตามข้อ 4 ที่เห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่าย ไว้ในคู่มือหรือเอกสารประกอบการจําหน่ายทุกครั้ง (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)

ข้อความที่กําหนดให้แสดงเพิ่มเติม
ชนิดของอาหาร
ข้อความคำเตือน/ข้อความอื่น
1.เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน
“ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยปรึกษาแพทย์ก่อน” ด้วยตัวอักษร
เส้นทึบสีแดง ขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 2 มิลลิเมตร ในกรอบสี่เหลี่ยมพื้นขาวสีของกรอบตัดกับสีของพื้นฉลาก
2.ไอศกรีม ที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเพื่อช่วยให้โครงสร้างผลึกน้ําแข็ง มีความคงตัว
“ใช้ โปรตีนจับโครงสร้างน้ำแข็งชนิด เอช พีแอล ซี12” หรือ
“ใช้ Ice Structuring Protein type III HPLC 12” และต้องแสดงข้อความที่สื่อให้ผู้บริโภคทราบด้วยว่า หากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัตถุเจือปนอาหารดังกล่าวให้ระบุหมายเลขโทรศัพท์หรือ เว็ปไซต์ติดต่อด้วย

(กระทรวงสาธารณสุข , 2557)

คำอธิบายเกี่ยวกับการแสดงปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก
            ระบบเมตริก คือ หน่วยวัดความยาวเป็น มิลลิเมตร เมตร กิโลเมตร หน่วยวัดน้ำหนักเป็นกรัม กิโลกรัมหน่วยวัดอุณหภูมิเป็น องศาเซลเซียส ตัวอย่างหน่วยตวงความจุและหน่วยวัดน้ำหนัก

หน่วยตวงความจุระบบเมตริก
10 มิลลิลิตร = 1 เซนติลิตร
10 เซนติลิตร = 1 เดซิลิตร
10 เดซิลิตร = 1 ลิตร
10 ลิตร = 1 เดคาลิตร
10 เดคาลิตร = 1 เฮกโตลิตร
10 เฮกโตลิตร = 1 กิโลลิตร

หน่วยวัดน้ำหนักระบบเมตริก
10 มิลลิกรัม = 1 เซนติกรัม
10 เซนติกรัม = 1 เดซิกรัม
10 เดซิกรัม = 1 กรัม
10 เดคากรัม = 1 เฮกโตกรัม
10 เฮกโตกรัม = 1 กิโลกรัม
1,000 กิโลกรัม = 1 เมตริกตันหรือตัน

การแสดงปริมาณของอาหารเป็นระบบเมตริก เช่น แสดงเป็น กรัม (ก.) หรือ กิโลกรัม (กก.) หรือ มิลลิลิตร(มล.) หรือ ลิตร (ล.) หรือ เดซิลิตร (ดล.) อาจแสดงเป็นภาษาอังกฤษร่วมด้วยก็ได้ เช่น gram (g.) หรือ Kilogram (kg) หรือmilliliter (ml) หรือ Liter (l) หรือ Deciliter (dl) เป็นต้น (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)
ตัวอย่างการแสดงปริมาตรสุทธิ และน้ำหนักสุทธิ กรณีจำหน่ายต่อผู้บริโภค (ต่อหน่วยภาชนะบรรจุ)
            - ปริมาตรสุทธิ 100 มิลลิลิตร (Net volume 100 ml)
            - ปริมาตรสุทธิ 1 ลิตร (Net content 1 Liter)
            - น้ำหนักสุทธิ 300 กรัม (Net weight 300 g.)
            - น้าหนักสุทธิ 500 กรัม (60 แคปซูล)
กรณีจำหน่ายต่อผู้บริโภค (ภาชนะบรรจุย่อยในภาชนะบรรจุใหญ่)
            - น้ำหนักสุทธิ 115 กรัม (46 เม็ด)
            - น้ำหนักสุทธิ 300 กรัม (50 ซอง)
            - น้ำหนักสุทธิ 300 กรัม (6 กรัม × 50 ซอง) (Net weight 300 g. (6 g. × 50 sticks)
            - น้ำหนักสุทธิ 6 กรัม × 50 ซอง (Net weight 6 g. × 50 sticks)
            - ปริมาตรสุทธิ 250 มิลลิลิตร × 12 กล่อง (Net content 250 ml × 12 boxes)
(กระทรวงสาธารณสุข , 2557)

คำอธิบายการแสดงวัน เดือน และปีที่ควรบริโภคก่อน
การแสดงอายุการเก็บรักษา ให้แสดงข้อความ “ควรบริโภคก่อน” ดังนี้
            1. อาหารที่มีอายุการเก็บรักษาไม่เกิน 90 วัน ให้แสดง “วัน เดือน และปี”
            2. อาหารที่มีอายุการเก็บรักษาเกิน 90 วัน ให้แสดง “วัน เดือน และปี”หรือ“เดือน และปี”
            นอกจากการแสดงข้อความตามวรรคหนึ่ง อาจกำหนดให้แสดงข้อความ “ผลิต” หรือ “หมดอายุ” ให้เป็นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาหารนั้น
            การแสดงวัน เดือนและปี หรือเดือนและปี ให้แสดงเป็น วัน เดือนและปี หรือ เดือนและปีเรียงตามลำดับ ทั้งนี้อาจแสดง“เดือน”เป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้
            กรณีที่มีการแสดงไม่เป็นไปตามวรรคสาม ต้องมีข้อความหรือตัวอักษรที่สื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจอย่างชัดเจนถึง วิธีการแสดงข้อความดังกล่าวกำกับไว้ด้วย ตัวอย่างการแสดงวัน เดือนและปีที่ควรบริโภคก่อน
กรณีอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาเกิน 90 วัน หรืออายุการเก็บรักษาไม่เกิน 90 วัน
            · ควรบริโภคก่อน 31 มี.ค. 2557
            · ควรบริโภคก่อน ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๗
            · ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) 31-03-2557 หรือ (วัน เดือน ปี) 31/03/2557 หรือ (วัน เดือน ปี) 31.03.2557
            · ควรบริโภคก่อน 31-03-57 หรือ 31/03/57 หรือ 31.03.57
            · ควรบริโภคก่อน 31-03-14 (วัน เดือน ปี) หรือ 31/03/14 (วัน เดือน ปี) หรือ 31.03.2514 (วัน เดือน ปี)
            · ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) โปรดดูบริเวณข้างใต้ภาชนะ โดยต้องแสดงวันเดือนปีบริเวณที่ ระบุไว้ เช่น 31-03-14 หรือ 31/03/14 หรือ 31.03.2514
            · ควรบริโภคก่อน (ปีเดือน วัน) 2014-03-31 หรือ (ปีเดือน วัน) 2014/03/31 หรือ (ปีเดือน วัน) 2014.03. 31
กรณีอาหารที่มีอายุการเก็บรักษาเกิน 90 วัน
            · ควรบริโภคก่อน มี.ค. 58
            · ควรบริโภคก่อน มีนาคม 2558
            · ควรบริโภคก่อน (เดือน ปี) 03-58 หรือ 03/58 หรือ 03.58
            · ควรบริโภคก่อน (เดือน ปี) 03-2558 หรือ 03/2558 หรือ 03.2558
            · ควรบริโภคก่อน 03-14 (เดือน ปี) หรือ 03/14 (เดือน ปี) หรือ03.2514 (เดือน ปี)
            · ควรบริโภคก่อน (เดือน ปี) โปรดดูบริเวณข้างใต้ภาชนะ เช่น 03-14 หรือ 03/14 หรือ 03.2514
            · ควรบริโภคก่อน (ปีเดือน) 2014-03 หรือ 2014/03 หรือ 2014.03
หมายเหตุ ทั้งนี้สามารถแสดง  ภาษาอื่นร่วมด้วยก็ได้ เช่น Best before เป็นต้น
            - ตัวเลขที่ใช้อาจแสดงเป็นเลขอารบิกหรือเลขไทย
            - การแสดงเดือน อาจแสดง ตัวเลข 2 หลัก หรือตัวอักษรเต็ม หรือ ตัวอักษรย่อ เช่น 06 หรือ มิถุนายน หรือ มิ.ย.
            - การแสดงปี อาจแสดง เป็นคริสตศักราช หรือพุทธศักราช โดยแสดงเป็นตัวเลข 4 หลัก หรือ 2 หลัก เช่น พ.ศ. 2557 หรือ 57 ค.ศ. 2014 หรือ 14  (กระทรวงสาธารณสุข , 2557)

ข้อควรสังเกตบางประการในการอ่านฉลากโภชนาการ
          1. เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าของอาหาร 2 อย่างโดยดูจากกรอบข้อมูลโภชนาการ ให้ดูปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคที่แสดงบนฉลากซึ่งอาจไม่เท่ากันด้วย (เพราะคุณค่าทางอาหารที่แสดงก็จะเป็นคุณค่าที่มีในอาหารต่างปริมาณกัน)
          2. สังเกตหน่วยน้ำหนักว่าต้องถูกต้อง เช่น โปรตีนกำหนดให้ต้องแสดงเป็นกรัม โปรตีน 1 กรัมถ้าแสดงเป็นมิลลิกรัม ก็จะได้ถึง 1,000 มิลลิกรัม ดูเผินๆจะเข้าใจว่ามีมาก ถ้าแสดงแบบนี้ก็เป็นฉลากที่ผิด
          3. ปริมาณน้ำหนักต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ (ยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ ไขมันที่ปริมาณต่ำกว่า 5 กรัม จะมีทศนิยมได้ทีละ 0.5 กรัม คือ เป็น 0.5, 1, 1.5, 2, 2.5, 3, 3.5, 4, 4.5 กรัมได้) ดังนั้น หากพบว่ามีการใช้ทศนิยมก็เป็นฉลากที่ผิด
          4. ตัวเลขแสดงปริมาณ ร้อยละ ต้องเป็นจำนวนเต็มเสมอ
          5. สีตัวอักษรในกรอบ ต้องเป็นสีเดียวกันหมด ห้ามเล่นสี ตัวอักษรต้องใช้ตัวหนาและตัวธรรมดาตามรูปแบบที่กำหนด
          6. สีพื้นภายในกรอบข้อมูลโภชนาการต้องเป็นสีเดียวเท่ากันหมด ห้ามเล่นเฉดสี หรือเน้นเฉพาะแห่ง
          7. สังเกตว่าหากเป็นอาหารประเภทเดียวกัน สูตรส่วนประกอบเหมือนกัน สารอาหารก็น่าจะใกล้เคียงกันด้วย
          8. ถ้ามีการกล่าวอ้าง ต้องมีกรอบข้อมูลโภชนาการประกอบด้วยเสมอ การกล่าวอ้างในทางป้องกันหรือรักษาโรคจัดเป็นการกล่าวอ้างสรรพคุณทางยาและไม่สามารถใช้กับอาหารได้ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกระทรวงสาธารณสุข ,2555)